วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

จัดทำโดย

นายณรงค์ กริดรัมย์ เลขที่ 3



นางสาวทักษพร แสนจินดา เลขที่ 14




นางสาวนันทรัตน์ รุ่งโรจน์ เลขที่ 16


นางสาวพรพิมล เกื้อประโคน เลขที่ 18



นางสาวรัตติกาล เชื้อสอน เลขที่ 23



นางสาวลภัสรดา เกษไธสง เลขที่ 26


นางสาวสายชล เกิดช่อ เลขที่ 30



นางสาวสุภาวดี กรุมรัมย์ เลขที่ 31


นางสาวอนันตญา นารัมย์ เลขที่ 33

อาณาจักรพืช
โดย สายณรงค์ รสานนท์


เรามาเจาะลึกอีกหนึ่งในทรัพยากรธรรมชาติที่มณฑลยูนนานมีอย่างมากมายและหลากหลายกันต่อไปเถอะ นักวิทยาศาสตร์หลายคนขนานนามยูนนานว่า “อาณาจักรแห่งพืช” เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกระหว่างนักพืชวิทยาว่า ยูนนานเป็นดินแดนหนึ่งในโลกที่มีความหลากหลายในพันธุ์พืชที่น่าสนใจมาก ทุกๆ ปีจะมีทีมงานสำรวจและวิจัยจากต่างประเทศอย่างน้อยหนึ่งทีม บุกบั่นเข้ามาในเขตทุรกันดารของยูนนานเพื่อสำรวจและศึกษาความมหัศจรรย์ของพันธุ์พืชในยูนนาน
ดังที่ผมได้กล่าวมาแล้วภายในยูนนาน เขตอากาศที่แตกต่างกันตั้งแต่เขตร้อนไปถึงเขตหนาวจัด ทำให้ยูนนานมีพืชทั้งเขตร้อน เขตกึ่งร้อน เขตอบอุ่น เขตหนาว และเขตหนาวจัด
ยูนนานมีพืชถึง 18,000 พันธุ์ด้วยกัน มากกว่าครึ่งหนึ่งของพันธุ์พืชทั้งหมดในจีน ในจำนวนนี้ 10,000 พันธุ์เป็นพืชประเภทเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน นักวิชาการได้ค้นพบว่ายูนนานมีพืชถึง 1,000 พันธุ์ที่มีคุณค่าในเชิงพาณิชย์ (คือปลูกแล้วขายได้กำไร)

ไม้ประดับและไม้ดอก

ยูนนานมีไม้ดอกถึง 1,500 พันธุ์ และไม้ประดับที่ไม่ใช่ไม้ดอกถึง 700 พันธุ์ ยูนนานมี Rhodedendron และ Azalia (ไม่มีชื่อภาษาไทยครับ) กว่า 150 พันธุ์
ยูนนานเป็นแหล่งผลิตไม้ตัดดอกที่ใหญ่ที่สุดในจีน แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่า บรรดาไม้ตัดดอกที่สำคัญๆ ของยูนนานเป็นไม้ต่างถิ่นเกือบหมด เช่น คาร์เนชั่น ลิลลี่ และกุหลาบ เกือบไม่มีไม้พื้นเมืองของยูนนานเลย

สมุนไพร

ยูนนานเป็นแหล่งสมุนไพรที่สำคัญมากแหล่งหนึ่งของจีน แพทย์แผนจีนได้ค้นพบสมุนไพรในยูนนานถึง 2,000 ชนิดด้วยกัน และใช้สมุนไพรในยูนนานถึง 1 ,250 ชนิดในการปรุงยาจีนที่ใช้กันอยู่ประจำวัน
เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว ท่านผู้อ่านคงไม่แปลกใจว่า ยูนนานเป็นศูนย์สำคัญแหล่งหนึ่งที่ผลิตยาจีนด้วยกรรมวิธีที่ทันสมัยเพื่อส่งออก ท่านสามารถหาซื้อยาจีนแบบเมล็ดหรือแคปซูลจากยูนนานได้ตามร้านขายยาทั่วโลก
ผู้ชำนาญด้านสมุนไพรของไทยเราน่าจะหาโอกาสไปร่วมทุนผลิตยาจีนผสมยาไทยที่ยูนนานนะครับ ผมว่าน่าสนใจมากทีเดียว

ไม้เนื้อหอม
ยูนนานมีไม้เนื้อหอมหรือไม้กลิ่นหอมถึง 400 พันธุ์ ส่วนมากมีชื่อเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ ที่มีชื่อเป็นไทยๆ ก็มี น้ำมันยูคาลิปตัส ต้นไม้ประเภทการบูร (camphor oil) ต้นไม้ประเภทกระดังงาไทย (Cananga odorata) พืชประเภทหญ้าหอม (cogongrass oil) และไม้ประเภทใบหอมหรือเปลือกหอมอื่นๆ
ไม้เนื้อหอมน่าสนใจพอสมควร มีค่า โตช้า หายาก ถึงแม้ว่าไม่มีความต้องการสูงมากก็ตาม แต่ก็มีราคาพอสมควร

พืชพาณิชย์
ในบรรดาพืชพาณิชย์ที่มีความสำคัญของยูนนานได้แก่ ชา อ้อย ยางพารา ต้นปาล์มน้ำมัน ผักและผลไม้
พืชพาณิชย์ที่มีชื่อที่สุดเห็นจะได้แก่ ชาผูเออร์ ซึ่งปลูกโดยชาวไทลื้อที่แคว้นสิบสองปันนาและมีชื่อเสียงโด่งดังที่จีนและเอเชียมากว่า 300 ปีแล้ว

การอนุรักษ์ป่าไม้ของยูนนาน
ปี พ.ศ. 2541 เกิดน้ำท่วมใหญ่ในยูนนาน บ้านเมืองไร่นาพังทลาย ผู้คนสูญหายตายจากเป็นจำนวนมาก สาเหตุหลักเกิดขึ้นจากการตัดไม้ทำลายป่า การทำไร่เลื่อนลอย รัฐบาลจีนไม่ลังเลใจที่จะประกาศห้ามตัดไม้ทำลายป่าธรรมชาติ และอนุญาตให้ตัดไม้เพียงในป่าที่ปลูกใหม่ทดแทนเท่านั้น รัฐบาลยูนนานตอบรับนโยบายที่สำคัญนี้อย่างเข้มแข็ง
ปัจจุบันนี้ ในยูนนานเกือบไม่มีการตัดไม้ทำลายป่าธรรมชาติ และมีการปลูกป่าทดแทนป่าที่ถูกทำลายไปแล้วอย่างขมักเขม้น โดยเฉพาะตามเนินเขาที่ชันมาก
จริงอยู่ ยังมีการลักลอบตัดป่าธรรมชาติเล็กๆ น้อยๆ ยังมีการฉ้อโกงโดยเจ้าหน้าที่จีน แต่โดยทั่วไปแล้ว เราต้องถือว่านโยบายนี้ประสบความสำเร็จอย่างน่าพึงพอใจ ด้วยเหตุว่า ยูนนานเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมาก องค์กรนานาชาติและองค์กรของจีนเองที่มีนโยบายอนุรักษ์ธรรมชาติต่างก็จับตาดูยูนนานเป็นพิเศษ และรัฐบาลยูนนานก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าธรรมชาติ
น่าทึ่งมากนะครับ โดยเฉพาะเมื่อเราเรียนรู้ว่า ยูนนานมีพื้นที่เป็นป่าถึง 25% ของพื้นที่ทั้งหมด และยูนนานเป็นมณฑลที่จนมาก แต่เขาก็ยอมเจ็บและยอมสูญเสียรายได้จากอุตสาหกรรมป่าไม้ เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขในระยะยาวของพวกเขา ไทยเราน่าจะเอาตัวอย่างจากยูนนานในเรื่องนี้มาใช้ดูบ้างนะครับ ไม่ใช่ตั้งหน้าตั้งตาทำลายธรรมชาติ เพื่อหวังเงินตราระยะสั้น และสร้างปัญหาให้กับลูกๆ หลานๆ
แต่ผมคงชมคนยูนนานเต็มที่ไม่ได้ เพราะปรากฏว่านายทุนยูนนานได้ไปตัดไม้ทำลายป่าที่อุดมสมบูรณ์ของพม่าและอินโดนีเซียแทน (ด้วยความรู้เห็นเป็นใจของชาวพม่าและอินโดเนียเซียที่เห็นแก่ตัวบางคน) ใช่แล้วครับ ยูนนานอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ที่มีคุณค่าของเขาไว้ แต่ได้ซื้อ (อย่างผิดกฏหมายเป็นส่วนมาก) ทรัพยากรเหล่านี้จากประเทศอี่นมาใช้แทน คนไทยจงจำไว้เป็นบทเรียนนะครับ อย่าไปหลงทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าของเราแล้วขายให้กับชาติอื่น ไม่คุ้มค่าหรอกครับ แล้วเขาก็ดูถูกเราด้วยว่าโง่ เห็นแก่ได้ ไม่คิดถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน
ข้อมูลสำหรับบทความนี้ ได้มาจากหลายแหล่งด้วยกัน รวมทั้ง สำนักงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งมณฑลยูนนานและองค์กรนานาชาติหลายองค์กร
kingdom platae
สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในอาณาจักรพืช ( Kingdom Platae or Metaphyta )
สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืช มีลักษณะเฉพาะ คือ เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ประกอบกันเป็นเนื้อเยื่อสามารถสร้างอาหารเองได้ ทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศ แบ่งได้หลายดิวิชัน ได้แก่ไบรโอไฟตาไซโลไฟตาไลโคไฟตา สฟีโนไฟตา เทอโรไฟตา เทอโรไฟตา โคนิเฟอโรไฟตา ไซแคโดไฟตา กิงโกไฟตา และแอนโทไฟตามีลักษณะ ร่วมที่สำคัญหลายประการทำให้นักชีววิทยาสามารถจัดให้อยู่ในพวกเดียวกันได้ ลักษณะร่วมที่สำคัญ

1. เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสังเคราะห์เเสงสร้างอาหารได้( multicellura photosynthesis organism )เรียกว่า ออโตโทรป ( autotrope )
2. โครงสร้างของพืชประกอบด้วย cell ส่วนใหญ่ที่มีรวค์วัตถุดูดซับเเสง คือ คลอโรฟิลด์ ซึ่งบรรจุอยู่ในคลอโรพลาสต์
3. มีการรวมกลุ่มของเซลล์เป็นเนื้อเยื่อเพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง
4. วัฏจักรชีวิตมีการสืบพันธุ์เเบบสลับ ( alternation of generation ) มีทั้งช่วงชีวิตที่เป็นระยะสปอโรไฟต์ ( 2n ) เเละช่วงชีวิตที่เป็น ระยะเเกมีโทไฟต์ ( n ) ที่สืบพันธุ์ได้ทั้งสองระยะ
5. มีการเจริญเติบโตของเอมบริโอ ( young sporophyte ) ภายในต้นเเม่ซึ่งเเตกต่างจากสาหร่าย ที่เอ็มบริโอจะเจริญเติบโตอย่างอิสระ
6. เซลล์พืชมีผนัง เซลล์( cell wall ) เป็นสารเซลล์ลูโลสที่เเข็งเเรงห่อหุ้มอยู่ภายนอกเยื่อหุ้มเซลล์






วิวัฒนาการของพืช

พืชเกือบทุกชนิดอาศัยอยู่บนบก เเละนักวิชาการเชื่อว่ามีวิวัฒนาการมาจากสาหร่ายสีเขียวหลายเซลล์ เพราะมีวัฏจักรชีวิตที่มีการสืบพันธุ์เเบบสลับ( alternation of generation )เหมือนกัน- พืชมีการปรับตัวหลายอย่างเพื่อขึ้นมาอาศัยอยู่บนบก คือ- มีคิวติเคิล ( สารคล้ายขี้ผึ้งที่เคลือบผิวใบเเละลำต้น ) เพื่อลดการสูญเสียน้ำ - มีปากใบ ( stomata ) เพื่อเเลกเปลี่ยนก๊าซ- มีเนื้อเยื่อลำเลียง เพื่อลำเลียงน้ำเเละเเร่ธาตุ ขึ้นไปสู่ยอด- มีเซลล์สืบพันธุ์ถูกห่อหุ้มเอาไว้หลายชั้น พืชบางชนิดยังเก็บไซโกตเอาไว้ใน อวัยวะสืบพันธุ์เพศเมียเพื่อให้ไซโกตเจริญเป็นเอ็มบริโอก่อนจะหลุดร่วงไป งอกเป็นต้นใหม่




การจัดจำพวกพืช

อาณาจักรพืช เเบ่งออกเป็น 8 ดิวิชั่น ( เทียบเท่าไฟลัม ) ซึ่งมีสองพวกได้เเก่1. พืชไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง( non vascular plant ) มีดิวิชั่นเดียวคือดิวิชั่นไบรโอไฟต้า มีลักษณะสำคัญคือ- ไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียง - ไม่มีราก ลำต้นเเละใบที่เเท้จริง- วัฏจักรชีวิตเเบบสลับ มีต้นเเกมีโตไฟต์ใหญ่กว่าต้นสปอโรไฟต์2. พืชมีเนื้อเยื่อลำเลียง ( vascula plant ) ได้เเก่ 7 ดิวิชั่นที่เหลือ มีลักษณะสำคัญรวมกันคือ- มีเนื้อเยื่อลำเลียง คือ ทีอลำเลียงน้ำเเละทีอลำเลียงอาหาร- มีราก ลำต้น เเละใบที่เเท้จริง คือ ภายในมีเนื้อเยื่อลำเลียงติดต่อถึงกันโดยตลอด- วัฏจักรชีวิตเเบบสลับมีต้นสปอโรไฟต์ใหญ่กว่าต้นเเกมีโทไฟต์ พืชมีเนื้อเยื่อลำเลียงที่มีวิวัฒนาการสูงขึ้นจะมีต้นสปอโรไฟต์ใหญ่ขี้นเเต่ต้นเเกมีโตไฟต์เล็กลงตามลำดับ จนกระทั่งในพืชพวกสนเเละพืชมีดอกต้นเเกมีโตไฟต์เหลือเพียงกลุ่มเซลล์ไม่กี่เซลล์ที่อาศัยอยู่ในต้นสปอโรไฟต์เท่านั้น
การจัดจำพวกพืชเป็น 9 ดิวิชันพืชที่ไมมีเนื้อเยื่อลำเลียง ( non vascular plant ) มี 1 ดิวิชัน คือ ไบรโอไฟตา ( ฺBryophyta ) มี 2 คลาส คือ- เอปาติคอปซอดา ( hepaticopsida )ลิเวอร์เวิร์ท ( liverwords )- ไบรออปซิดา ( Bryopsida ) มอส ( moss ) เช่น ข้าวตอกฤาษี ( สเเฟกนัมมอส )
พืชมีเนื้อเยื่อลำเลียง ( vascular plant ) มี 8 ดิวิชัน คือพวกไม่มีเมล็ด ไซโลไฟตา ( Psilophyta )

หวายทะนอย หรือ ไซโลตัม ( Psilotum )ไลโคไฟตา ( Lycophyta )ช้องนางคลี่ หรือไลโคโปเดียม ( Lycopodium )เเละตีนตุ๊กเเกหรือ ซีเเลกจิเนลลา ( Selaginella )สฟีโนไฟตา ( Sphenophyta )หญ้าถอดปล้อง ( หญ้าหางม้า ) หรือ อีควิเซตัม (equisetum )เทอโรไฟตา ( Pterophyta )เฟิน ( fern )
พวกมีเมล็ด เมล็ดเปลือย ไม่มีผลห่อหุ้ม โคนิเฟอโรไฟตา ( Coniferophyta )สน ( conifers )ไซเเคโดไฟตา ( Cycadophyta ) หรง ( cycade )กิงโกไฟตา ( Ginkgophyta )เเป๊ะก๊วย ( Gingo )
พวกมีเมล็ด เมล็ดมีผลห่อหุ้ม ( มีดอก ) เเอนโทไฟตา ( Anthophyta ) พืชมีดอก มีจำนวนมากที่สุด






................................................................................................

พัฒนาโดยนางสาววรรดี ไวเรียบเสนออาจารย์ ภาสกร เรืองรอง รายวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา355201สงวนลิขสิทธิ์ โดยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ.2547

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552






อาณาจักรพืช
หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาให้อยู่ในอาณาจักรพืช
1. สามารถสร้างอาหารเองได้ เพราะมีคลอโรฟิลล์
2. เคลื่อนที่ไม่ได้ แต่เคลื่อนไหวได้
3. มีการดำรงชีวิตแบบผู้ผลิต
4. สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานเคมีได้
5. เซลล์ มีผนังเซลล์
6. มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าช้า เพราะไม่มีระบบประสาท
7. เซลล์เป็นแบบ Eukaryotic cell ( มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส )
เราสามารถจำแนกสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืชออกเป็น 8 ดิวิชั่น ดังนี้
1. ดิวิชั่นไบรโอไฟตา ( Bryophyta )
เป็นพืชดิวิชั่นเดียวที่จัดว่าเป็น พืชไม่มีท่อลำเลียง ( Non – vascular plant )
ไม่มีราก ลำต้น ใบ ที่แท้จริงจะมีส่วนทำหน้าที่คล้ายราก ลำต้น ใบ
ราก เรียกว่า Rhizoid (ไรซอย) ยึดเกาะ, ดูดอาหาร
ลำต้น เรียกว่า Caulidium (คัวลิเดียม)
ใบ เรียกว่า Phyllidium (ฟิลลิเดียม) สังเคราะห์แสง
เป็นพืชที่ชอบความชื้นสูง ต้นเตี้ยคล้ายสาหร่าย
วงจรชีวิตเป็นแบบสลับมี 2 ช่วง คือ
แกมีโตไฟต์ คือช่วงชีวิตของพืชที่มีส่วนคล้ายราก ลำต้น ใบ มีอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ เรียกว่า Anterridium และมีอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย เรียกว่า Archegomiun
สปอร์โรไฟต์ คือช่วงชีวิตที่เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ผสมกับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย เกิดการงอกเจิญเป็นต้นสปอร์โรไฟต์จะอยู่บนแกมีโตไฟต์ ปลายของสปอร์โรไฟต์มีอับสปอร์ทำหน้าที่สร้างสปอร์

ตัวอย่าง ได้แก่ มอส , ลิเวอร์เวิร์ต , ฮอร์นเวิร์ต


1. ดิวิชั่นไซโลไฟตา ( Psilophyta )
เป็นพืชที่มีท่อลำเลียง แต่มีวิวัฒนาการต่ำสุด , ไม่มีใบ
ไม่มีรากและใบที่แท้จริงแต่มีใบเกล็ดเล็ก ๆ ตามข้อ
มีลำต้นที่แท้จริงมีสีเขียวขนาดเล็กเป็นเหลี่ยมแตกกิ่งเป็นคู่
มีวงชีวิต 2 ช่วงคือ
แกมีโตไฟต์ มีลำต้นขนาดเล็กอยู่ใต้ดิน ไม่มีสีเขียว มีไรซอย มีอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียเมื่อมีการผสมพันธุ์แล้วเจริญเป็นสปอร์โรไฟต์ แกมีโตไฟต์จะสลายไป
สปอร์โรไฟต์ มีลำต้นขนาดเล็กตั้งตรงเหนือพื้นดิน มีสีเขียว ไม่มีใบหรือใบเป็นเกล็ดเล็ก ๆ มีอับสปอร์ที่บริเวณกิ่ง เรียกว่า สปอร์แรงเจียม (Sporangium)
ตัวอย่าง หวายทะนอย หรือ ไซโลตัม



1. ดิวิชั่นไลโคไฟตา ( Lycophyta )
มีราก ใบ ลำต้นที่แท้จริง
บางชนิดมีลำต้นตั้งตรงหรือเลื้อยตามพื้นดิน มีลำต้นใต้ดิน เรียกว่า Phizoid
ใบมีขนาดเล็ก เรียงซ้อนกันเรียกว่า Porophill ทำหน้าที่ห่อหุ้มรองรับสปอร์ส่วนปลายยอดจะมีลักษณะเป็นเกล็ดเล็กๆ เรียงซ้อนกันเรียกว่า Strobilus
ทำหน้าที่สร้างสปอร์
เมกะสปอร์แรงเจียม ( เพศเมีย )
ไมโครสปอร์แรงเจียม (เพศผู้ )
ตัวอย่าง พวก Lycopodium ได้แก่ ช้องนางคลี่ สามร้อยยอด
พวก Selaginella ได้แก่ ต้นตีนตุ๊กแต ,พ่อค้าตีเมีย ,หญ้าร้องไห้ ,เฟือยนก
1. ดิวิชั่นสฟีโนไฟตา ( Sphenophyta )
มีราก ลำต้น ใบที่แท้จริง
ลำต้นขนาดเล็ก มีสีเขียว ต่อกันเป็นข้อและปล้องชัดเจน
ใบไม่มีสีเขียวแต่มีลักษณะคล้ายเกล็ดแตกออกรอบๆข้อ
ปลายลำต้นที่เจริญเต็มที่ จะมีกลุ่มที่ทำหน้าที่สร้างสปอร์เรียกว่า Strobilus
รากเจริญจากข้อของลำต้นใต้ดิน
ช่วงชีวิตที่เด่นคือ สปอร์โรไฟต์
ตัวอย่าง ( Equiselum ) หญ้าถอดปล้อง , สนหางม้า , หญ้าหูหนวก , หญ้าเหงือก
1. ดิวิชั่นเทอโรไฟตา ( Pterophyta )
มีราก ลำต้น ใบที่แท้จริง
ใบมีขนาดใหญ่เป็นใบเดี่ยวหรือใบประกอบ ใบอ่อนจะม้วนจากปลายใบมายังโคนเป็นวง
ระยะสปอร์โรไฟต์ จะมีกลุ่มอับสปอร์อยู่ใต้ท้องใบเรียกว่า Sorus
ระยะแกมีโตไฟต์ จะมีลักษณะเป็นแผ่นสีเขียวบางๆ คล้ายรูปหัวใจเรียกว่า Prothallus
ตัวอย่าง พวกเฟิร์น ผักกูด ย่านลิเภา ผักแว่น ชายผ้าสีดา






1. ดิวิชั่นโคนิเฟอโรไฟตา ( Coniferophyta )
มีราก ลำต้น ใบที่แท้จริง
ใบมีขนาดเล็กเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็นรูปเข็ม
ลำต้นสูงใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขา มีเนื้อไม้มาก
เป็นพวกแรกที่อาศัยลมในการผสมพันธุ์
บริเวณปลายกิ่งจะมี Cone หรือ Strobilus เป็นแผ่นแข็งสีน้ำตาลเรียงซ้อนกันแน่น ( เพศเมีย )
มีเมล็ดใช้สำหรับสืบพันธุ์ เมล็ดไม่มีรังไข่ห่อหุ้มจะติดอยู่กับส่วน Strobilus
ช่วงชีวิตที่เด่นคือ สปอร์โรไฟต์ ( อาศัยเพศ )
ตัวอย่าง สนสองใบ , สนสามใบ
1. ดิวิชั่นไซแคโดไฟตา ( Cycadophyta )
มีราก ลำต้น ใบที่แท้จริง
ลำต้นเตี้ย มีขนาดใหญ่
ใบเป็นใบประกอบ มีขนาดใหญ่คล้ายใบมะพร้าวแต่เป็นกระจุกที่ส่วนยอด
มีเมล็ดใช้ในการสืบพันธุ์มี Cone เมล็ดไม่มีผนังรังไข่ห่อหุ้มเหมือนพืชพวกสน งอกได้ทันทีไม่ต้องฟักตัว

ตัวอย่าง ต้นปรง


1. ดิวิชั่นแอนโทไฟตา ( Anthophyta )
มีวิวัฒนาการสูงที่สุดในพวกพืชมีท่อลำเลียง
มีราก ลำต้น ใบที่แท้จริง
มีระบบลำเลียงเจริญดี มีท่อลำเลียงน้ำ ( Xylem ) และท่อลำเลียงอาหาร (Phloem)
มีดอกเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ เมล็ดมีรังไข่ห่อหุ้ม
การปฏิสนธิ เป็นแบบซ้อน Double Fertilization การปฏิสนธิ 2 ครั้ง
ตัวอย่าง พืชมีดอก แยกได้ออกเป็น พืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
พืชใบเลี้ยงคู่
พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
1. มีใบเลี้ยง 2 ใบ
2. เส้นใบเป็นแบบร่างแห
3. ใบเลี้ยงชูเหนือพื้นดิน
4. ระบบรากแก้ว
5. ระบบท่อลำเลียงเป็นวงรอบข้อ
6. กลีบเลี้ยง กลีบดอกเกสรตัวผู้ 4-5
7. รากจะมีท่อลำเลียงน้ำและท่อลำเลียงอาหาร 4 แฉก
8. มี Cambium และมีการเจริญทางด้านข้าง
1. มีใบเลี้ยง 1 ใบ
2. เส้นใบเรียงแบบขนาน
3. ใบเลี้ยงไม่ชูเหนือพื้นดิน
4. ระบบรากฝอย
5. ระบบท่อลำเลียงกระจัดกระจาย
6. กลีบเลี้ยง กลีบดอกเกสรตัวผู้ 3
7. รากจะมีท่อลำเลียงน้ำและท่อลำเลียงอาหารมากกว่า 4 แฉก
8. ไม่มี Cambium และไม่มีการเจริญทางด้านข้าง

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

อาณาจัรแบ่งออกเป็น ๕ หมวด

อาณาจักรพืชแบ่งออกเป็นห้าหมวด (Division ที่เทียบเท่ากับ Phylum ในอาณาจักรอื่นๆ) ดังนี้
1. Rhodophyta หรือพวกสาหร่ายสีแดง



2. Phaeophyta หรือพวกสาหร่ายสีน้ำตาล รวมสาหร่ายยักษ์เคลพ์ (kelp) ที่อยู่ในทะเลด้วย


3. Chlorophyta หรือพวกสาหร่ายสีเขียว


4. Bryophyta หรือพวกมอสส์และลิเวอร์เวิร์ต (liverwort)



5. Tracheophyta หรือพวกพืชมีท่อลำเลียง (vascular plant) ทั้งหมด พืชในหมวดนี้แบ่งออกเป็นสองหมวดย่อย (Subdivision) ดังนี้



5.1 พวกเฟิร์น
5.2 พืชมีเมล็ด (seed plant) พืชในหมวดย่อยนี้แบ่งออกเป็นสองชั้น (Class) ใหญ่ๆ ที่เราคุ้นเคยกัน ดังนี้
5.2.1 Gymnospermae เรียกพืชในชั้นนี้ว่าพืชเมล็ดเปลือย (gymnosperm)
หมายถึง พืชที่เมล็ดไม่มีสิ่งห่อหุ้ม พืชพวกนี้ไม่มีรังไข่ ไม่มีผล และมีการปฏิสนธิเดี่ยว (single fertilization) แต่จากความรู้ที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน พบว่า คำกล่าวข้างต้นถูกต้องเพียงบางส่วน ตัวอย่างพืชในชั้นนี้ เช่นสนเขา แปะก๊วย และปรง พืชเมล็ด มีวิวัฒนาการในโลกมาก่อนพืชดอก เมื่อประมาณ 280 ล้านปีที่แล้ว หรือก่อนไดโนเสาร์เริ่มครองโลก
5.2.2 Angiospermae เรียกพืชในชั้นนี้ว่าพืชดอก (angiosperm) เนื่องจากในพวกพืชมีเมล็ดด้วยกัน เฉพาะพืชกลุ่มนี้เท่านั้นที่สร้างดอก พืชดอกหมายถึงพืชที่เมล็ดมีสิ่งห่อหุ้ม พืชกลุ่มนี้มีรังไข่ (ovary) มีผล (fruit) และมีการปฏิสนธิคู่ (double fertilization) พืชดอกมีวิวัฒนาการมาจากพืชเมล็ดเปลือยดึกดำบรรพ์ เมื่อประมาณ 136 ล้านปีที่แล้ว หรือในยุคที่ไดโนเสาร์เริ่มสูญพันธุ์ พืชในชั้นนี้มีมากที่สุด ในโลกนี้มีประมาณ 275,000 ชนิด (species) ในประเทศไทยประมาณว่ามีมากกว่า 12,000 ชนิด และมีหลากหลายเช่นกัน ตั้งแต่ต้นเล็กไม่ถึงหนึ่งมิลลิเมตร เช่น duckweed ที่อยู่ตามผิวน้ำ จนถึงต้นสูงใหญ่ร่วมหนึ่งร้อยเมตร เช่นยูคาลิปตัส หรือยืนต้นเช่นไม้ที่พบเห็นบนดินทั่วไป เป็นเถาเกาะเกี่ยวตามต้นไม้ จนถึงพืชอากาศที่อาศัยอยู่บนต้นไม้อื่น หรือสังเคราะห์แสงได้เอง (photosynthetic plant) ดังเช่นพืชที่เราเห็นทั่วๆไป จนถึงพืชเบียนหรือกาฝาก (parasitic plant) และพืชกินซาก (saprophytic plant) พืชที่เราพบเห็นและศึกษาโดยทั่วไปทางการเกษตรจัดอยู่ในกลุ่มนี้ ดังนั้น เนื้อหาที่จะกล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้จึงเกี่ยวข้องกับพืชดอกเกือบทั้งหมด

พืชดอกแบ่งออกเป็นสองชั้นย่อย (Subclass) โดยแบ่งตามจำนวนใบเลี้ยงในเมล็ดได้ ดังนี้
1) ใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledonae) เรียกพืชในชั้นย่อยนี้ว่าพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (monocotyledon หรือมักเรียกย่อๆว่า monocot) พืชกลุ่มนี้มีใบเลี้ยงในเมล็ดเพียงหนึ่งใบ ในโลกนี้มีพืชใบเลี้ยงเดี่ยวประมาณ 50,000 ชนิด ตัวอย่างวงศ์ (Family) พืชที่ถูกจัดให้อยู่ในชั้นย่อยใบเลี้ยงเดี่ยวนี้ เช่น Poaceae (ชื่อเดิมคือ Gramineae หรือวงศ์หญ้า) Palmae หรือ Arecaceae (วงศ์ปาล์ม) Liliaceae (วงศ์ลิลี่) Orchidaceae (วงศ์กล้วยไม้) และ Cyperaceae (วงศ์กก) โปรดสังเกตชื่อวงศ์มักลงท้ายด้วย ceae
2) ใบเลี้ยงคู่ (Dicotyledonae) เรียกพืชในชั้นย่อยนี้ว่าพืชใบเลี้ยงคู่ (dicotyledon หรือมักเรียกย่อๆว่า dicot) พืชในกลุ่มนี้มีใบเลี้ยงในเมล็ดสองใบ ในโลกนี้มีพืชใบเลี้ยงคู่มากมายประมาณ 225,000 ชนิด ตัวอย่างวงศ์พืชที่ถูกจัดให้อยู่ในชั้นย่อยใบเลี้ยงคู่นี้ เช่น Fabaceae (ชื่อเดิมคือ Leguminosae หรือวงศ์ถั่ว) Brassicaceae (ชื่อเดิมคือ Cruciferae หรือวงศ์กะหล่ำ) Solanaceae (วงศ์มะเขือเทศ) และ Asteraceae (ชื่อเดิมคือ Compositae หรือวงศ์ทานตะวัน) ก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่องต่อไป เราควรมีความเข้าใจพื้นฐานทางพฤกษศาสตร์ให้ตรงกัน เพื่อจะได้รู้ว่าเรากำลังพูดถึงระดับไหนในพืช องค์ประกอบของพืชจากระดับย่อยสุดถึงระดับใหญ่สุดเป็นดังนี้ ระดับย่อยสุดคือ องค์ประกอบของเซลล์ (cell component) -> เซลล์ (cell) -> ชนิดเซลล์ -> เนื้อเยื่อ (tissue) -> ระบบเนื้อเยื่อ -> อวัยวะ (organ) -> ระบบ ที่เป็นระดับใหญ่สุด เนื้อหาส่วนใหญ่ในหนังสือเล่มนี้อยู่ในระดับชนิดเซลล์ถึงเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นระดับที่ค่อนข้างย่อยในแง่ทางการเกษตรทั่วๆไป เมื่อพืชเจริญเติบโต เนื้อเยื่อที่เรียกว่าเนื้อเยื่อเจริญ (meristem) จะพัฒนาเป็นเนื้อเยื่อต่างๆ อวัยวะใหม่ๆ เช่นราก กิ่ง ใบ เพื่อเข้าหาแสง น้ำ และแร่ธาตุ นอกจากนี้ เนื้อเยื่อเจริญยังพัฒนาเป็นแกมีโทไฟต์ (gametophyte, ดูหัวข้อที่ 7 และ/หรือ 13) และเซลล์สืบพันธุ์ (gamete) ในพืชที่โตอีกด้วย เรื่องเซลล์สืบพันธุ์นี้คือประเด็นสำคัญที่กล่าวถึงในหนังสือนี้นี่เอง เนื้อเยื่อเจริญแบ่งเป็นสองประเภท ดังนี้
1. เนื้อเยื่อปฐมภูมิ (primary tissue) สร้างโดยเนื้อเยื่อเจริญที่ปลายรากหรือปลายยอด (apical meristem) ทำให้รากพืชเจริญลึกลงในดินเข้าหาน้ำและแร่ธาตุ และลำต้นพืชเจริญขึ้นในอากาศเข้าหาแสง การเจริญเติบโตเนื่องจากเนื้อเยื่อเจริญประเภทนี้เรียกว่าการเจริญเติบโตปฐมภูมิ
2. เนื้อเยื่อทุติยภูมิ (secondary tissue) สร้างโดยเนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (lateral meristem) ทั้งในราก ลำต้น และกิ่ง เนื้อเยื่อประเภทนี้จะเจริญเป็นแคมเบียม (cambium) เพื่อสร้างไซเล็ม (xylem) และโฟลเอ็ม (phloem) หรือท่อลำเลียงน้ำและอาหารต่อไป ทำให้ส่วนต่างๆของพืชหนาหรือใหญ่ขึ้น การเจริญเติบโตเนื่องจากเนื้อเยื่อประเภทนี้เรียกว่าการเจริญเติบโตทุติยภูมิ
ระบบเนื้อเยื่อหลัก (main tissue system) ของพืชแบ่งออกเป็นสามประเภท โดยจะพัฒนาเป็นเนื้อเยื่ออื่นๆต่อไป ในส่วนต่างๆของพืชเพื่อการเจริญเติบโตและสืบพันธุ์ ดังนี้
1. ระบบเนื้อเยื่อผิว (dermal) จะพัฒนาเป็นเนื้อเยื่อชั้นผิว (epidermis) ต่อไปในการเจริญเติบโตปฐมภูมิ ชนิดเซลล์ที่เกี่ยวข้องในการเจริญเติบโตปฐมภูมินี้ เช่นเซลล์พาเรงคิมา (parenchyma) และเซลล์คุม (guard cell) หรือจะพัฒนาเป็นเนื้อเยื่อเพอริเดิร์ม (periderm) ต่อไปในการเจริญเติบโตทุติยภูมิ ชนิดเซลล์ที่เกี่ยวข้องในการเจริญเติบโตทุติยภูมินี้ เช่นเซลล์พาเรงคิมา และเซลล์สเกลอเรงคิมา (sclerenchyma) ระบบเนื้อเยื่อผิวนี้มีหน้าที่ปกป้องอันตรายจากภายนอก และกันการสูญเสียน้ำจากต้นพืช
2. ระบบเนื้อเยื่อเจริญพื้น (ground meristem) จะพัฒนาเป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมา คอลเลงคิมา (collenchyma) และสเกลอเรงคิมา หรือที่เรามักเรียกกันว่าเนื้อเยื่อคอร์เทกซ์ (cortex) และไส้ไม้ (pith) ต่อไป ชนิดเซลล์ที่เกี่ยวข้อง เช่นเซลล์พาเรงคิมา คอลเลงคิมา และเซลล์เส้นใย (fiber) ระบบเนื้อเยื่อเจริญพื้นนี้มีหน้าที่สะสมอาหาร เช่นคาร์โบไฮเดรตที่ได้จากการสังเคราะห์แสง และค้ำจุนต้นพืช
3. ระบบเนื้อเยื่อท่อลำเลียง (vascular) จะพัฒนาเป็นเนื้อเยื่อไซเล็ม (xylem) และโฟลเอ็ม (phloem) หรือเรียกรวมกันว่าเนื้อเยื่อแคมเบียมท่อลำเลียง (vascular cambium) ต่อไป ชนิดเซลล์ที่เกี่ยวข้อง เช่นเซลล์เทรคีด (tracheid) ในไซเล็ม และเซลล์ท่อลำเลียงอาหาร (sieve tube member) ในโฟลเอ็ม ระบบเนื้อเยื่อท่อลำเลียงนี้มีหน้าที่ขนส่งสารและให้ความแข็งแรงในแนวตั้งแก่พืช

อาณาจักรพืช

อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae) พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกำเนิดขึ้นมาแล้วไม่ต่ำกว่า 400 ล้านปี มีหลักฐานหลายอย่างที่ทำให้เชื่อว่าพืชมีวิวัฒนาการมาจากสาหร่ายสีเขียว กลุ่ม Charophytes โดยมีการปรับตัวจากสภาพที่เคยอยู่ในน้ำขึ้นมาอยู่บนบก ด้วยการสร้างคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เหมาะสมขึ้นมา เช่น มีการสร้างคิวติน (cutin) ขึ้นมาปกคลุมผิวของลำต้นและใบเรียกว่า คิวทิเคิล ( cuticle) เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ และการเกิด สโทมาตา (stomata) เพื่อทำหน้าที่ระบายน้ำและแลกเปลี่ยนก๊าซ เป็นต้น ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืช พืชมีโครงสร้างที่ประกอบขึ้นด้วยหลายเซลล์ที่มารวมกลุ่มกันเป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่างเซลล์ของพืชมีผนังเซลล์ที่มีสารประกอบ เซลลูโลส (cellulose) เป็นองค์ประกอบที่พบเป็นส่วนใหญ่ พืชทุกชนิดที่คุณสมบัติที่สามารถสร้างอาหารได้เองจากระบวนการสังเคราะห์ด้วยเสง โดยบทบาทของรงควัตถุคลอโรฟิลล์ (chlorophyll a & b) ที่อยู่ในคลอโรพลาสต์เป็นสำคัญ รงควัตถุหลักที่พบได้ในเซลล์พืชจะเหมือนกับพบในเซลล์ของสาหร่ายสีเขียว ได้แก่ คลอโรฟิลล์ เอ คลอโรฟิลล์ บี และแคโรทีนอยด์ นอกจากนี้พืชยังสะสมอาหารในรูปของแป้ง (starch)
ภาพแสดงเซลล์พืช
ภาพแสดงการเปรียบเทียบเซลล์พืชกับเซลล์สัตว์ วงชีวิต (life cycle) ของพืชเป็นวงชีวิตแบบสลับ (Alternation of Generation) คือ ประกอบด้วยช่วงชีวิตที่เป็นสปอโรไฟต์ (sporophyte generation) ทำหน้าที่สร้างสปอร์ (spore) สลับกับช่วงชีวิตที่เป็นแกมีโทไฟต์ (gametophyte generation) ทำหน้าที่สร้างแกมีต ( gamete) ได้แก่ เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้หรือสเปิร์ม (sperm) และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียหรือไข่ (egg) ซึ่งจะมารวมกันเพื่อให้ได้เป็นเซลล์ใหม่คือ ไซโกต (zygote) อวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของพืชประกอบขึ้นด้วยหลายเซลล์โดยมีเซลล์โดยมีเซลล์ที่เป็นหมัน (sterile cell) ห่อหุ้มอยู่รอบนอก การเจริญของพืชจากไซโกตไปเป็นสปอโรไฟต์จะต้องผ่านจะต้องผ่านระยะที่เป็นเอ็มบริโอ (embryo) ก่อน คุณสมบัติทั้ง 2 ประการ ดังกล่าวนี้จะไม่พบในพวกสาหร่าย (algae) วงชีวิตแบบสลับ พืชส่วนใหญ่จะมีสปอโรไฟต์เด่น คือมีขนาดที่มองเห็นได้ชัดเจนทั่วไป ในขณะที่แกมีโทไฟต์มีขนาดเล็กแทบมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าในพืชบางกลุ่ม แกมีโทไฟต์ประกอบขึ้นด้วยเซลล์ที่เป็นโมโนพลอยด์ (n) จำนวนมากทำหน้าที่สร้างแกมีต สปอโรไฟต์ของพืชประกอบขึ้นด้วยเซลล์ที่เป็นดิพลอยด์ (2n) ทำหน้าที่สร้างสปอร์จากการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสของสปอร์มาเทอร์เซลล์ (spore mother cell) ที่อยู่ภายในอับสปอร์ (sporangium) สปอร์ ซึ่งเป็นเซลล์ที่เป็นเฮพลอยด์ (n) จะแบ่งตัวเจริญต่อไปเป็นแกมีโทไฟต์ (n) ที่ทำหน้าที่สร้างแกมีตคือ สเปิร์ม และไข่ การปฏิสนธิ (fertilization) คือ การรวมตัวกันของสเปิร์ม (n) และไข่ (n) จะทำให้ได้เซลล์ใหม่ที่เป็นดิพลอยด์ (2n) คือ ไซโกตเกิดขึ้นมา และต่อจากนั้นไซโกตจะแบ่งเซลล์ได้เป็นเอ็มบริโอ ก่อนที่จะเจริญต่อไปเป็นสปอร์โรไฟต์ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ไซโกตคือ เซลล์เริ่มต้นของช่วงสปอโรไฟต์ และสปอร์คือเซลล์เริ่มต้นของช่วงแกมีโทไฟต์ ในพืชกลุ่มที่ไม่สร้างเมล็ดส่วนใหญ่จะมีการสร้างสปอร์เพียงชนิดเดียว (homospore) ซึ่ง สปอร์ดังกล่าวจะแบ่งตัวและเจริญต่อไปเป็นแกมีโทไฟต์ที่ทำหน้าที่สร้างทั้งสเปิร์มและไข่บนต้นเดียวกัน แต่สำหรับพืชที่มีการสร้างเมล็ดแล้วทุกชนิด จะสร้างสปอร์เป็น 2 ชนิด (heterospore) ได้แก่ ไมโครสปอร์ (microspore) และ เมกะสปอร์ (megaspore) ไมโครสปอร์จะแบ่งตัวเจริญต่อไปเป็น ไมโครแกมีโทไฟต์ (microgametophyte) หรือแกมีโทไฟต์เพศผู้ (male gametophyte) ทำหน้าที่สร้างสเปิร์ม และเมกะสปอร์ จะแบ่งตัวเจริญต่อไปเป็นเมกะแกมีโทไฟต์ (megagametophyte) หรือแกมีโทไฟต์เพศเมีย (female gametophyte) ทำหน้าที่สร้างไข่ ต่อไป สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 9 ดิวิชัน คือ 1.
ดิวิชันไบรโอไฟตา (Division Bryophyta) 2. ดิวิชันไซโลไฟตา (Division Psilophyta) 3. ดิวิชันไลโคไฟตา(Division Lycophyta) 4. ดิวิชันสฟีโนไฟตา (Division Sphenophyta) 5. ดิวิชันเทอโรไฟตา (Division Pterophyta) 6. ดิวิชันโคนิเฟอโรไฟตา (Division Coniferophyta) 7. ดิวิชันไซแคโดไฟตา (Division Cycadophyta) 8. ดิวิชันกิงโกไฟตา (Division Ginkophyta) 9. ดิวิชันอแนโทไฟตา (Division Anthophyta)